บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ความจริง-วิชาธรรมกาย [1]

ในบทความนี้  ผมต้องการจะแสดงให้เห็นว่า องค์ความรู้ของวิชาธรรมกายสอดคล้องกับทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์เป็นอย่างดี

องค์ความรู้ของวิชาธรรมกายที่จะเขียนต่อไปข้างหน้า และเขียนมาแล้ว ผมได้มาอย่างน้อย 6 วิธีการ ดังนี้

1) การอ่านเอกสารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาจำนวนมาก
2) การปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง
3) การเป็นวิทยากรไปสอนตามโรงเรียนและมหาวิทยาลัย และจัดการอบรมเป็นครั้งคราว
4) จากการสังเกต
5) จากการสัมภาษณ์
6) จากการทำวิจัยของตนเองและเป็นที่ปรึกษางานวิจัยของคนอื่นๆ

จะเห็นว่า วิธีการหาความรู้ของผมก็เป็นการศึกษาหาความรู้อย่างเป็นหลักวิชาการ 

ถ้าจะพูดให้ทันสมัยในทางวิจัยมาอีกนิดก็คือ ผมทำวิจัยประเด็นนี้ ด้วยทฤษฎีฐานราก (Grounded theory)

ดังนั้น องค์ความรู้ของวิชาธรรมกาย ซึ่งมีตำรับตำราเขียนไว้เป็นจำนวนมาก จึงได้รับการพิสูจน์ว่า เป็นความจริง (truth)  และเป็นความจริงที่สอดคล้องกับองค์ความรู้ของฟิสิกส์ใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันนี้ด้วย

ขออธิบายก่อนว่า ความจริงที่สอดคล้องกันนั้น  ไม่ใช่ “ความจริง” อันเดียวกัน 

วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนี้ แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอน  ของนิวตัน-กาลิเลโอ-เดส์คาร์ต

ต่อไปจะเรียกว่า วิทยาศาสตร์เก่า หรือวิทยาศาสตร์เก่าแบบนิวตัน 

วิทยาศาสตร์เก่าแบบนิวตันนี้ ไม่ใช่ว่า นิวตัน-กาลิเลโอ-เดส์คาร์ต เพียง 3 คน คิดค้นขึ้นมา  อันที่จริงเป็นการพัฒนาความรู้โดยนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก  แต่ที่โดดเด่นและเป็นผู้นำในทางด้านความคิด ก็คือ ท่านทั้ง 3 คน ดังกล่าว

วิทยาศาสตร์อีกยุคหนึ่งก็คือ ฟิสิกส์ใหม่  ยุคของฟิสิกส์ใหม่นับตั้งแต่ไอน์สไตน์ประกาศทฤษฎีสัมพัทธภาพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1905 เป็นต้นมา

ในปัจจุบันนี้ ความเจริญทางด้านวัตถุทั้งหลายในโลก เราก็ได้รับผลพวงมาจากวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 ยุคนั้น

รถไฟ สะพาน รถยนต์ โทรทัศน์ โทรศัพท์ ฯลฯ ใช้องค์ความรู้ของวิทยาศาสตร์เก่าสร้างขึ้นมา

พวกอุปกรณ์ดิจิตอลทั้งหลาย ระบบ GPS ประตูปิดเปิดอัตโนมัติตามห้าง ฯลฯ ใช้องค์ความรู้ของฟิสิกส์ใหม่สร้างขึ้นมา

ดังได้กล่าวไปแล้วว่า ความจริงของฟิสิกส์ใหม่ หรืออาจจะเรียกให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือ ความจริงของไอน์สไตน์ ไม่ใช่ “ความจริง” อันเดียวกันกับของศาสนาพุทธ

ผมจึงไม่เห็นด้วยกับนักเขียนหลายๆ คนที่ไปเหมารวมเอาว่า ความจริงของไอน์สไตน์กับความจริงของศาสนาพุทธเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 

ศาสนาพุทธก็คือศาสนาพุทธ มีวิธีการศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะตัวไม่เหมือนกับการศึกษาของวิทยาศาสตร์

การกระทำของนักเขียนหลายๆ คนดังกล่าว ก็เดินทางผิด หรือซ้ำรอยเดิมเช่นเดียวกับพุทธวิชาการในยุคที่ผ่านมา  ที่เอาวิทยาศาสตร์เก่าของนิวตันมาเป็นไม้บรรทัดหรือหลักเกณฑ์ที่ตัดสินว่า เนื้อหาของพุทธศาสนาเถรวาทส่วนใดเป็นจริง ส่วนใดเป็นมายาคติ (myth)

เมื่อความรู้ของฟิสิกส์ใหม่ตีความรู้ของวิทยาศาสตร์เก่าตกไป  พุทธวิชาการเหล่านั้นก็มีอาการหน้าแตกหมอไม่รับเย็บไปตามๆ กัน 

ปัจจุบันพุทธวิชาการชุดนั้น จึงไม่กล้าเขียนงานวิชาการทำนองนี้ออกมาอีก  บางส่วนก็เก็บตัวเงียบไป บางส่วนก็ไปเขียนเรื่องอื่นๆ

บทความในชุดนี้ ผมจะการจะเปรียบเทียบความจริงของ วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอน ของนิวตัน-กาลิเลโอ-เดส์คาร์ต ความจริงของฟิสิกส์ใหม่ และความจริงของศาสนาพุทธเถรวาท

การที่จะเปรียบเทียบองค์ความรู้ทั้ง 3 ประการนั้น  เราต้องรู้และเข้าใจไปถึงความเป็นมาของความรู้ของทางตะวันตกเสียก่อน

นั่นก็คือ  ความรู้ของอภิปรัชญา (Metaphysics)...




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น