บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

กรุณาอ่านตรงนี้ก่อน


วัตถุประสงค์


ในบล็อกนี้ ผมมีวัตถุประสงค์ที่จะนำองค์ความรู้ของวิชชาธรรมกายมาเผยแพร่อย่างเป็น วิชาการ หรืออย่างเป็นสาขาวิชาหนึ่ง (Field of study)

สิ่งที่ควรจะรู้ก่อนอื่นเลยก็คือ คำศัพท์ที่ว่า  วิชาธรรมกาย และ ธรรมกายศาสตร์ มีความหมายและขอบเขตแค่ไหน อย่างไร

วิชาธรรมกาย  หมายถึง  การปฏิบัติธรรมตามแบบวิชาธรรมกายของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ซึ่งหลวงพ่อวัดปากน้ำยืนยันว่า เป็นวิชาของพระพุทธเจ้า  แต่ขาดผู้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 500  หลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นผู้สามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง
การค้นพบความรู้ของวิชาธรรมกายได้อีกครั้งหนึ่งนั้น โดยมากจะมีผู้อธิบายว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำค้นมาได้โดยบังเอิญ  ซึ่งในแง่หนึ่งก็สามารถที่จะตีความเป็นเช่นนั้นได้

แต่ถ้าพูดกันถึงในระดับของความรู้สูงๆ ของทางศาสนาพุทธแล้ว  การค้นพบวิชาธรรมกายของหลวงพ่อวัดปากน้ำดังกล่าว  ไม่ใช่เป็นเรื่องบังเอิญ  แต่เป็นเรื่องของการบำเพ็ญบารมีอย่างยิ่งยวด อย่างนับภพนับชาติไม่ถ้วนของหลวงพ่อวัดปากน้ำต่างหาก

เรื่องบังเอิญนี้น่าสนใจมาก เพราะ ในทางวิทยาศาสตร์กับทางศาสนามีความเห็นตรงกันว่า ไม่มีเรื่องบังเอิญแบบที่เข้าใจกันนั้น คือ เหตุการณ์ใดเหตุการณ์จะต้องมีสาเหตุความเป็นมา

ความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสนาในเรื่องบังเอิญนี้ ก็คือ วิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมเหตุการณ์บังเอิญเกิดขึ้นได้  แต่ศาสนาพุทธมีคำอธิบายให้กับเหตุการณ์บังเอิญได้

ธรรมกายศาสตร์ หมายถึง การนำการปฏิบัติธรรมตามวิชชาธรรมกายมาอธิบายหรือตีความตามหลักของวิชาการ สมัยปัจจุบัน  เนื่องจากเนื้อหาคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น  เรื่องที่เป็นเรื่องละเอียด ขนาดเป็นลูกศิษย์ในสายวิชาธรรมกายเอง ก็ยังอ่านไม่ค่อยเข้าใจแล้ว

ถึงแม้ในปัจจุบันนี้ คุณลุงการุณย์  บุญมานุชก็นำตำราวิชชาธรรมกายของหลวงพ่อวัดปากน้ำมาขยายความให้ง่ายขึ้นทุก หลักสูตร  เรื่องที่เป็นเรื่องละเอียดลึกๆ  ลูกศิษย์อ่านแล้วก็ยังเข้าใจยากเช่นเดิม  ไม่ต้องพูดถึงคนอื่นๆ

ข้อย้ำก่อนว่า ไม่ได้มีการตีความใหม่ให้กับวิชชาธรรมกาย  แต่เป็นการอธิบายในเชิงวิชาการ เพื่อให้คนทั้งโลกสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ และสามารถปฏิบัติตามได้ง่ายขึ้น

สำหรับด้านเนื้อหาในบล็อกนั้น  ก็จะกล่าวถึงเรื่องทั่วๆ ไป ง่ายๆ ที่ยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่

กล่าวคือ เป็นเรื่องที่พุทธวิชาการหรือพุทธปฏิบัติบางส่วน อธิบายแล้วขาดเหตุผล สับสนวกวนไปมา

ข้อเขียนในแต่ละส่วนมีเนื้อหาขัดแย้งกัน  เช่น สอนว่าขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวตน  ตัวตนของเราไม่มี แต่ก็มีพุทธพจน์ที่ว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน  ทำให้พุทธศาสนิกชนสับสนว่า ตกลงแล้วตัวตนมีหรือไม่ ถ้ามีเป็นอย่างไร

สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน เป็นอย่างไรกันแน่ แยกกันได้หรือไม่  สติปัฏฐาน 4 เป็นวิปัสสนากรรมฐานใช่หรือไม่

สติปัฏฐาน สามารถทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้หรือไม่

พระไตรลักษณ์จำเป็นมากหรือสำหรับสังคมไทย ที่เป็นสังคมพุทธมาช้านาน ไม่ใช่สังคมพราหมณ์อย่างเช่นในสมัยพุทธกาล เป็นต้น

นอกจากนั้นแล้วก็จะยังอธิบายสาเหตุของความไม่เข้าใจในเรื่องต่างๆ นั้นด้วยว่า เกิดมาจากสาเหตุอะไร

โปรดติดตามต่อไป 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น