บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง



เรื่องปาฏิหาริย์ของศาสนาพุทธนี้ พระใหญ่ๆ โตๆ เช่น พระพรหมคุณาภรณ์/พระธรรมปิฎก/พระประยุทธ์/พระเปลืองข้าวสุกประชาชน “ไม่เชื่อ” ว่าเป็นจริง

ใครหาว่าผมใส่ร้ายพระผู้ใหญ่ก็ไปอ่านได้ที่นี่  “อิทธิปาฏิหาริย์ไม่มีอยู่จริง” ท่านเขียนไว้ในหนังสือพุทธธรรมว่า

“ดังนั้น คำว่าสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือนอกเหนือธรรมชาติ ตามที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นเพียงสำนวนภาษาเท่านั้น ไม่มีอยู่จริง”

กล่าวได้ง่ายๆ ว่า พระรูปนี้ ไม่เชื่อพระไตรปิฎก  แต่ชอบไปโจมตีคนอื่นว่า “สอนไม่ตรงพระไตรปิฎก”  แต่วันนี้ ประเด็นที่ว่านี้ ไม่ใช่ประเด็นที่จะเขียน

ประเด็นที่จะเขียนก็คือ  ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนั้น  วิชาธรรมกายทำได้ทั้ง 3 อย่าง

ก่อนอื่นตั้งอธิบายก่อนว่า ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง นั้นคืออะไร

ใน “เกวัฏฏสูตร” [พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๒๕๕ – ๒๕๙] ว่าด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง

พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า 

ดูก่อนพราหมณ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ 
อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ ๑ 
อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์ ๑ 
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์ ๑

อิทธิปาฏิหาริย์ก็เช่นว่า ทำคนเดียวให้เห็นเป็นหลายคน เดินทะลุฝาได้ ดำดินได้เหมือนขอมดำดิน  เหาะเหินเดินอากาศได้ เป็นต้น

อาเทสนาปาฏิหาริย์ ก็เช่น ทายใจได้ว่า คนนั้นคิดอย่างไร เป็นประเภท ราคะจริต โลภะจริต หรือ โทสะจริต เป็นต้น 

อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ก็ขอยกพุทธพจน์ ดังนี้

ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่

ดูก่อนพราหมณ์ นี้เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์.

พระพุทธองค์ทรงสอนเพิ่มเติมอีกว่า

ดูก่อนเกวัฏฏะ  ข้ออื่นยังมีอยู่อีก  พระตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้เป็นพระอรหันต์  ตรัสรู้เองโดยชอบ  ฯลฯ  ดูก่อนเกวัฏฏะ แม้นี้ก็เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์.

ภิกษุเข้าถึงทุติยฌาน  ตติยฌาน  จตุตถฌานอยู่.  ดูก่อน เกวัฏฏะ  ข้อนี้ท่านเรียกว่า   อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ฯลฯ

ภิกษุนำเข้าไปน้อมเข้าไปซึ่งจิตเพื่อญาณทัสสนะ.   ดูก่อนเกวัฏฏะ  นี้  ท่านเรียกว่า  อนุสาสนีปาฏิหาริย์.  ฯลฯ

ภิกษุย่อมรู้ว่า    ไม่มีจิตอื่นเพื่อเป็นอย่างนี้อีก  ข้อนี้ท่านเรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์. 

ดูก่อนเกวัฏฏะ   ปาฏิหาริย์  ๓ อย่างนี้แล  เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง  แล้วจึงประกาศให้รู้. ฯลฯ

พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่อง ปาฏิหาริย์ ๓ อีกครั้งหนึ่งใน “สังคาราวสูตร” [พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๒๕๕ – ๒๕๙] เนื้อหาก็คล้ายกับ “เกวัฏฏสูตร” ข้างต้น แต่ในตอนท้าย มีคำถามของพราหมณ์ว่า

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็แม้ภิกษุอื่นรูปหนึ่งผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ นอกจากท่านพระโคดม มีอยู่หรือ”

พระพุทธองค์ทรงตอบว่า “ ดูก่อนพราหมณ์ ไม่ใช่มีร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อยไม่ใช่ห้าร้อย

ที่แท้ภิกษุผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ มีอยู่มากมายทีเดียว”

ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างในวิชาธรรมกาย

1) อิทธิปาฏิหาริย์

เท่าที่อ่านหนังสือลุง บันทึกปราบมาร 31 เล่มของลุง และคุณลุงเล่าให้ฟัง  คุณลุงเหาะได้ ไปเที่ยวได้ทั่ว  แต่ใช้ “กายละเอียด” ไป  ไม่ใช่เอากายเนื้อไป

ลูกศิษย์ของลุงก็ทำได้หลายคน  อยากรู้ก็ไปเข้าประชุมกับวิทยากรดู  มีหลายคนที่ทำได้

2) อาเทสนาปาฏิหาริย์

ข้อนี้ คุณลุงกับลูกศิษย์ก็ทำได้หลายคน  คือ พอเห็นใครปุ๊บก็รู้เลยว่า  เป็นดีหรือคนเลว หรือครึ่งดี ครึ่งเลว

เป็นคน ราคะจริต โลภะจริต หรือ โทสะจริต ก็รู้  คิดอะไรอยู่ก็รู้

ตรงนี้ บอกวิธีการนิดหนึ่ง  การที่อยากจะรู้ว่า “ใครคิดอย่างไร” นั้น 

หลักการก็คือ เอาดวงธรรมของเรา ไปซ้อนกับของเขาให้สนิทเป็นดวงเดียวกัน  แล้วเราก็จะรู้ว่า “คนนั้น” คิดอย่างไร

วิธีการก็เอาใจของเราเข้า ฐานที่ 1-2-3-7 ของเขา พอถึงฐานที่ 7 เราก็จะเห็นดวงธรรมของเขา ก็เอาดวงธรรมของเราไปซ้อน

3) อนุสาสนีปาฏิหาริย์

ข้อนี้ คนที่สอบเป็นวิทยากรของคุณลุงทำได้ทุกคน  คือ สามารถสอนให้คนเห็นดวงธรรมได้ เห็นกายธรรมได้

ในพระไตรปิฎกก็คือ สอนให้คน “มีดวงตาเห็นธรรม

ตัวอย่างก็เช่นวิดิโอที่ผมสอนเด็กอนุบาลด้านบนนั้น

นี่แหละคือ การสอนให้เด็กอนุบาลมีดวงตาเห็นธรรม และเห็นกายธรรม  เด็กเหล่านั้น จะเป็นคนดีของสังคมไปในภายภาคหน้า

การสอนแบบนี้  ไม่มีสำนักปฏิบัติธรรมไหน หรือพุทธวิชาการสถาบันไหนทำได้ ....



2 ความคิดเห็น:

  1. อนุโมทนาบุญในการสอนเด็กด้วยครับเห็นเเล้วสบายใจยังไงไม่รู้เค้าจะได้ไม่ต้องหลงผิดเมื่อโตขึ้น ส่วนตัวผมเองไม่รู้จะทำได้เเบบที่อาจารย์เขียนหรือเปล่า นั่งมาสิบกว่าปี สายหนอ เเละ พุธโธ เห็นเเต่ความมืดเต็มที่เเค่เบาสบายเท่านั้น

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. โดยหลักการแล้ว การที่คุณปฏิบัติธรรมไม่ว่าจะสายไหนก็ดีทั้งนั้น ขอให้ปฏิบัติธรรมก็แล้วก้น


      ที่มาเถียงๆ กัน แบบจะฆ่ากันตายนี่ เป็นพวกฮาร์ดคอร์ คือ ของกูดีกว่าของมึง ทำนองนั้น

      ลบ